วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่2

 ทฤษฏีการบริหารการศึกษา

  Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น


                                เป็นทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึง
 ความต้องการพื้นฐานของร่างกายในการดำรงชีวิต 
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง
 ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ            
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่นมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง
 ความปรารถนาที่จะ เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากตนเองและผู้อื่น   5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต

Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความเป็นจริงของคนทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีข้อด่างพร้อยเลย ก็คงไม่มีอีกเช่นกัน

ทฤษฎี X(Theory X) หลีเป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามกเลี่ยงงาน

ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน

  แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y


William Ouchi : ทฤษฎี Z
เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย
1.) ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน
2.) ประการที่สอง จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป
3.) และประการที่ 3 คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ


Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
เทย์เลอร์ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ(Different rate system)

Henri Fayol (1841-1925)
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)
หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling
)

Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ


บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความเป็นมาและพัฒนาการบริหาร
                 การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ซึ่งเรียกตัวเองว่า“Cameralists”ให้คำจำกัดความ  การบริหาร  หมายถึง  การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ  การบริหาร  เริ่มมีความหมายชัดเจนตอนต้นพุทธศตวรรษที่  25  หมายถึง  การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ ของรัฐ  หรือ  หมายถึง  การปฏิบัติการต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐ 

ปรัชญาของการศึกษามีอยู่  13  ประการ  คือ
1.ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาดไหวพริบมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ
2. ผู้บริหารต้องเปิดให้คนจำนวนมากเข้าร่วมในการทำงาน
3.ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน
4.ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมายของการศึกษาเป็นหลักการบริหาร
5.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้ประสานประโยชน์
6.ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้คนเข้าพบทำความเข้าใจกันได้ทุกเมื่อ
7.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้นำ
8. ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือนักศึกษาผู้ยึดมั่น
9. ผู้บริหารต้องเสียสละทุกอย่าง
10. ผู้บริหารจะต้องประสานงาน
11.ผู้บริหารจะต้องบริหารงานอยู่เสมอ
12. ผู้บริหารต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร
13.ผู้บริหารต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ  และแสวงหาความชำนาญ


บทที่  2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการเน้นพฤติกรรมองค์การและเรื่องของมนุษยสัมพันธ์  ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ นอกจากการใช้  “ระเบียบวินัยในการทำงาน การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์ วัตถุประสงค์ของกลุ่ม  ดังนั้นปรัชญาของการบริหารธุรกิจจึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่างอื่น  ผลประโยชน์นายทุนเป็นเป้าหมายสำคัญในการแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
 จะแบ่งได้ดังนี้
ยุคที่ 1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิมจะจัดการงานซึ่งได้ปฏิบัติ                                                                    ยุคที่ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ความรู้ความชำนาญของผู้ บริหาร  คือ  ผู้บริหารต้องมีความรู้  ความฉลาด  และมีประสบการณ์เพื่อมาเป็นผู้นำสามารถนำหลัก มนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการบริหารการศึกษา ส่วนในยุคที่ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ เป็นการจัดองค์การที่เป็นทางการจึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล  มุ่งด้านระบบขององค์การ


บทที่  3
งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป กล่าวคือสามารถนำหลักการของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้ ผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย  เพราะจะมีลักษณะเผด็จการ มีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้ 
1.การผลิต  คือ กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน คือ  กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี คือ  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ  การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา



บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์  ในการบริหาร
การศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร 2  เรื่อง คือ  
1.การจัดระบบสังคม 
2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
หลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับใด จะต้องยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน  และมีการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียนนั้นๆ


บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ หมายถึง ระบบที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นร่วมกันสร้างให้บุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์  ในการทำงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
องค์การในสถานศึกษามี  4  ระบบ
-     ระบบโครงสร้างการบริหาร เน้น โครงสร้างกระบวนการ
-     ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีการดำเนินงานการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-     ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การร่วมกันด้วยดี
-    ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้ริการการจัดองค์การ มีความสำคัญมาก จึงต้องมีการจัดแบ่งหน้าที่การทำงาน และมอบอำนาจในการรับผิดชอบหะเหมาะสมตามความสามารถและความถนัด    


บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร การจัดเตรียม การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารจะมีผู้ส่งสาร ช่องทาง ข้อมูล ผู้รับสาร การตอบรับ ส่วนการติดต่อสื่อสารจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารมีความเข้าใจระหว่างผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำงานไปด้วยดี ช่วยสร้างทัศนคติเกิดแรงจูงใจ เพื่อเกิดแรงจูงใจ


บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
                ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน


บทที่ 8
การประสานงาน
              การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ การประสานงานและนโยบายที่ดี และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว


บทที่ 8
การประสานงาน ( Coordination )
การประสานงาน คือ การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การอย่างสมานฉันท์และมีประสิทธิภาพ
ความมุ่งหมายในการประสานงาน
1.             ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป้ไปตามวัตถุประสงค์
2.             เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของการทำงานโดยไม่จำเป็น
3.             เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
หลักการประสานงาน
1.             จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดี
2.             จัดให้มีระบบของความร่วมมือที่ดี
3.             จัดให้มีระบบการประสานงานที่ดี
4.             จัดให้มีการประสานนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การให้สอดคล้องกัน
5.             จัดให้มีการป้อนงานในรูปกระบวนการบริหารที่ครบวงจร


บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ ( Decision Making )
                การวินิจฉัยสั่งการ คือ การสั่งงาน หมายถึง การตกลงที่จะยุติข้อขัดแย้ง โต้เถียง โดยให้มีการกระทำไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว
                การตัดสินใจและวินิจฉัยสั่งการ ผู้บริหารควรมีหลักการ คือ ความถูกต้อง การยอมรับ และสามารถปฏิบัติได้โดยคำนึงถึงกฎหมายบ้านเมือง และปทัสถานทางสังคม
                กระบวนการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
ขั้นที่ 2 ค้นหาทางเลือก
ขั้นที่ 3 การประเมินทางเลือก
ขั้นที่ 4 ทำการตัดสินใจ
ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามการตัดสินใจ
ขั้นที่ 6 การประเมินผลลัพธ์และการจัดหาการป้อน


บทที่ 10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
                ผู้บริหารโรงเรียน มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษา เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดบริหารทางการศึกษาแก่สังคมได้อย่างดี งานบริหารโรงเรียนได้แก่ กระบวนการทำงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน นักเรียน อาคารสถานที่ งานธุรการ และการติดต่อสร้างสัมพันธ์กับชุมชน
การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารต้องรู้ รับผิดชอบ ควบคุมดูแล การวางแผนวิชาการ การจัดแผนการเรียน การจัดตารางการเรียนการสอน การจัดครูเข้าสอน การพัฒนาการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาครูด้านวิชาการ การจัดกิจกรรมนักเรียน การวัดและประเมินผลการเรียน งานทะเบียนนักเรียน และการประเมินผลทางวิชาการ
                การบริหารบุคคล คือ การใช้คนให้ทำงานให้ทำงานได้ผลดีที่สุด ภายในระยะเวลาสั้นที่สุด สิ้นเปลืองเงินวัสดุอุปกรณ์น้อยที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 1

ความหมายของคำว่า การบริหาร การศึกษา การบริหารการศึกษา

          การบริหาร  คือ  กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนการจัดองค์การ  จัดคนเข้าทำงาน  สั่งการ และควบคุม การทำงานให้กิจกรรมขององค์การดำเนินไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ    
                
           การศึกษา   คือ   การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด  ความสามารถ และความเป็นคนดี  มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้   การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง  
  
               การบริหารการศึกษา   คือ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี  เป็นกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน

ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริหารอื่นๆ โดยวิเคราะห์จากทฤษฎี 4 Ps
        1.       Purpose (ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์)
        2.       People (บุคคล)
        3.       Process (กรรมวิธีในการดำเนินงาน)
        4.       Product (ผลผลิต)
              1.Purpose (ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์) การบริหารราชการแผ่นดินมีความมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข การบริหารธุรกิจมีความมุ่งหมายเพื่อต้องการกำไรเป็นตัวเงิน แต่การบริหารการศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ไม่หวังผลกำไรเป็นตัวเงิน
              2.People (บุคคล)
         2.1 ผู้ให้บริการ บุคคลที่เป็นผู้ให้บริการในการบริหารการศึกษา คือ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน อธิการบดี ตลอดจนผู้บริหารการศึกษาต้องเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดี เป็นคนเก่ง และเป็นตัวอย่างแก่ผู้รับบริการหรือนักเรียน ซึ่งเป็นบุคคลที่แตกต่างไปจากผู้บริหารหรือบุคคลที่เป็นผู้ให้บริการในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจ
         2.2 ผู้รับบริการ บุคคลที่เป็นผู้รับบริการในการบริหารการศึกษา ส่วนมากเป็นผู้เยาว์ หรือเด็กที่ต้องพัฒนาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป แต่บุคคลที่เป็นผู้รับบริการในการบริหารราชการแผ่นดิน และ การบริหารธุรกิจ ส่วนมากเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะหรือเป็นผู้ใหญ่แล้ว
3.Process (กรรมวิธีในการดำเนินงาน)
การบริหารการศึกษา มีกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน มีกรรมวิธีในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพที่หลากหลาย และแตกต่างกับกรรมวิธีของการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารธุรกิจอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้นการรบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจจะนำกรรมวิธีทางการบริหารการศึกษาไปใช้ไม่ได้อีกด้วย
4.Product (ผลผลิต) ผลผลิตทางการบริหารการศึกษา คือได้คนที่มีคุณภาพซึ่งเป็นนามธรรม คือเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนแล้วสำเร็จการศึกษาออกไป จะได้เด็กที่มีความรู้ มีความคิด มีความสามารถ และเป็นคนดี ซึ่งจะมองเห็นได้ยากเพราะเป็นนามธรรม แต่ผลผลิตทาง การบริหารราชการแผ่นดิน และ การบริหารธุรกิจ เป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ง่าย เช่น มีถนนหนทาง มีคลองระบายน้ำ มีไฟฟ้ามีน้ำประปาใช้ มีผลผลิตทางการเกษตร มีผลกำไรเป็นตัวเงิน หรือเมื่อนำผลไม้เข้าไปในโรงงานจะได้ผลผลิตที่ออกจากโรงานเป็นผลไม้กระป๋อง เป็นต้น