วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่2

 ทฤษฏีการบริหารการศึกษา

  Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น


                                เป็นทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึง
 ความต้องการพื้นฐานของร่างกายในการดำรงชีวิต 
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง
 ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ            
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่นมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง
 ความปรารถนาที่จะ เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากตนเองและผู้อื่น   5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต

Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความเป็นจริงของคนทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีข้อด่างพร้อยเลย ก็คงไม่มีอีกเช่นกัน

ทฤษฎี X(Theory X) หลีเป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามกเลี่ยงงาน

ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน

  แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y


William Ouchi : ทฤษฎี Z
เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย
1.) ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน
2.) ประการที่สอง จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป
3.) และประการที่ 3 คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ


Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
เทย์เลอร์ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ(Different rate system)

Henri Fayol (1841-1925)
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)
หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling
)

Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ


บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความเป็นมาและพัฒนาการบริหาร
                 การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ซึ่งเรียกตัวเองว่า“Cameralists”ให้คำจำกัดความ  การบริหาร  หมายถึง  การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ  การบริหาร  เริ่มมีความหมายชัดเจนตอนต้นพุทธศตวรรษที่  25  หมายถึง  การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ ของรัฐ  หรือ  หมายถึง  การปฏิบัติการต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐ 

ปรัชญาของการศึกษามีอยู่  13  ประการ  คือ
1.ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาดไหวพริบมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ
2. ผู้บริหารต้องเปิดให้คนจำนวนมากเข้าร่วมในการทำงาน
3.ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน
4.ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมายของการศึกษาเป็นหลักการบริหาร
5.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้ประสานประโยชน์
6.ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้คนเข้าพบทำความเข้าใจกันได้ทุกเมื่อ
7.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้นำ
8. ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือนักศึกษาผู้ยึดมั่น
9. ผู้บริหารต้องเสียสละทุกอย่าง
10. ผู้บริหารจะต้องประสานงาน
11.ผู้บริหารจะต้องบริหารงานอยู่เสมอ
12. ผู้บริหารต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร
13.ผู้บริหารต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ  และแสวงหาความชำนาญ


บทที่  2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการเน้นพฤติกรรมองค์การและเรื่องของมนุษยสัมพันธ์  ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ นอกจากการใช้  “ระเบียบวินัยในการทำงาน การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์ วัตถุประสงค์ของกลุ่ม  ดังนั้นปรัชญาของการบริหารธุรกิจจึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่างอื่น  ผลประโยชน์นายทุนเป็นเป้าหมายสำคัญในการแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
 จะแบ่งได้ดังนี้
ยุคที่ 1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิมจะจัดการงานซึ่งได้ปฏิบัติ                                                                    ยุคที่ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ความรู้ความชำนาญของผู้ บริหาร  คือ  ผู้บริหารต้องมีความรู้  ความฉลาด  และมีประสบการณ์เพื่อมาเป็นผู้นำสามารถนำหลัก มนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการบริหารการศึกษา ส่วนในยุคที่ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ เป็นการจัดองค์การที่เป็นทางการจึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล  มุ่งด้านระบบขององค์การ


บทที่  3
งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป กล่าวคือสามารถนำหลักการของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้ ผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย  เพราะจะมีลักษณะเผด็จการ มีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้ 
1.การผลิต  คือ กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน คือ  กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี คือ  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ  การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา



บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์  ในการบริหาร
การศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร 2  เรื่อง คือ  
1.การจัดระบบสังคม 
2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
หลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับใด จะต้องยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน  และมีการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียนนั้นๆ


บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ หมายถึง ระบบที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นร่วมกันสร้างให้บุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์  ในการทำงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
องค์การในสถานศึกษามี  4  ระบบ
-     ระบบโครงสร้างการบริหาร เน้น โครงสร้างกระบวนการ
-     ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีการดำเนินงานการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-     ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การร่วมกันด้วยดี
-    ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้ริการการจัดองค์การ มีความสำคัญมาก จึงต้องมีการจัดแบ่งหน้าที่การทำงาน และมอบอำนาจในการรับผิดชอบหะเหมาะสมตามความสามารถและความถนัด    


บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร การจัดเตรียม การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารจะมีผู้ส่งสาร ช่องทาง ข้อมูล ผู้รับสาร การตอบรับ ส่วนการติดต่อสื่อสารจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารมีความเข้าใจระหว่างผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำงานไปด้วยดี ช่วยสร้างทัศนคติเกิดแรงจูงใจ เพื่อเกิดแรงจูงใจ


บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
                ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน


บทที่ 8
การประสานงาน
              การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ การประสานงานและนโยบายที่ดี และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว


บทที่ 8
การประสานงาน ( Coordination )
การประสานงาน คือ การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การอย่างสมานฉันท์และมีประสิทธิภาพ
ความมุ่งหมายในการประสานงาน
1.             ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป้ไปตามวัตถุประสงค์
2.             เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของการทำงานโดยไม่จำเป็น
3.             เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
หลักการประสานงาน
1.             จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดี
2.             จัดให้มีระบบของความร่วมมือที่ดี
3.             จัดให้มีระบบการประสานงานที่ดี
4.             จัดให้มีการประสานนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การให้สอดคล้องกัน
5.             จัดให้มีการป้อนงานในรูปกระบวนการบริหารที่ครบวงจร


บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ ( Decision Making )
                การวินิจฉัยสั่งการ คือ การสั่งงาน หมายถึง การตกลงที่จะยุติข้อขัดแย้ง โต้เถียง โดยให้มีการกระทำไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว
                การตัดสินใจและวินิจฉัยสั่งการ ผู้บริหารควรมีหลักการ คือ ความถูกต้อง การยอมรับ และสามารถปฏิบัติได้โดยคำนึงถึงกฎหมายบ้านเมือง และปทัสถานทางสังคม
                กระบวนการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
ขั้นที่ 2 ค้นหาทางเลือก
ขั้นที่ 3 การประเมินทางเลือก
ขั้นที่ 4 ทำการตัดสินใจ
ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามการตัดสินใจ
ขั้นที่ 6 การประเมินผลลัพธ์และการจัดหาการป้อน


บทที่ 10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
                ผู้บริหารโรงเรียน มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษา เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดบริหารทางการศึกษาแก่สังคมได้อย่างดี งานบริหารโรงเรียนได้แก่ กระบวนการทำงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน นักเรียน อาคารสถานที่ งานธุรการ และการติดต่อสร้างสัมพันธ์กับชุมชน
การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารต้องรู้ รับผิดชอบ ควบคุมดูแล การวางแผนวิชาการ การจัดแผนการเรียน การจัดตารางการเรียนการสอน การจัดครูเข้าสอน การพัฒนาการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาครูด้านวิชาการ การจัดกิจกรรมนักเรียน การวัดและประเมินผลการเรียน งานทะเบียนนักเรียน และการประเมินผลทางวิชาการ
                การบริหารบุคคล คือ การใช้คนให้ทำงานให้ทำงานได้ผลดีที่สุด ภายในระยะเวลาสั้นที่สุด สิ้นเปลืองเงินวัสดุอุปกรณ์น้อยที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น