วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

กิรกรรมทดสอบปลายภาค


1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 


แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา



 ปัจจุบันแท็บเล็ตได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องของการศึกษามากขึ้น เราจะเห็นได้ว่าในบางประเทศนั่นเริ่มให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีประเภทแท็บเล็ต เข้ามาช่วยเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียน และล่าสุดยักษ์ใหญ่แห่งวงการคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีในนาม อินเทล (Intel) ได้เปิดตัวต้นแบบแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาในชื่อ Studybook ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์เพื่อการศึกษาในโครงการของอินเทลที่มีชื่อว่า Intel Learning Series เป็นโครงการที่รวมเอาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการต่าง ๆ มารวมกันเพื่อจุดประสงค์ทางด้านการศึกษาเป็นหลัก และมุ่งเน้นด้านการพัฒนาและเพิ่มประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีให้แก่นักเรียน

          สำหรับ Studybook ตัวเครื่องทำด้วยพลาสติกและยาง ทำให้ทนทานต่อการตกจากที่สูงไม่เกิน 1 เมตร มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว ความละเอียด 1024x600 พิกเซล มาพร้อมกับซีพียู Atom Z650 แรม 1 GB และมีความจุตั้งแต่ 32 GB - 128 GB สามารถใส่ซิมการ์ดได้ พร้อมด้วยกล้องถ่ายภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีพอร์ตต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น พอร์ต HDMI, USB 2.0 และตัวเครื่อง Studybook มีน้ำหนักเพียง 525 กรัม ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบปฏิบัติ Windows 7 หรือระบบปฏิบัติการ Android 3.0 และสามารถดาวน์โหลดแอพฯ ฟรีเพื่อใช้ในการศึกษา เช่น Kno e-reader หรือ LabCam สำหรับใช้ในการการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยสามารถต่อเชื่อมกับกล้องความละเอียด 2 ล้านพิกเซลที่ติดอยู่ด้านหลังแท็บเล็ตเพื่อใช้แทนกล้องจุลทรรศน์ได้ ชมภาพตัวอย่างด้านล่าง




 สำหรับเรื่องราคา ทางอินเทลยังไม่ได้กำหนดชัดเจน แต่คาดว่าทางผู้ผลิตที่ออกแบบแท็บเล็ตตัวนี้ จะคุมราคาขายด้วยราคาไม่เกิน $200 หรือประมาณ 6,000 บาท หรืออาจจะถูกกว่า อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงต้นแบบเท่านั้นแต่เชื่อว่าอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นแท็บเล็ต Studybook ตัวนี้ เริ่มใช้งานในหลาย ๆ ประเทศและต้องรอลุ้นว่าประเทศไทยของเรา จะมีใครสนใจเข้าร่วมโครงการนี้กับอินเทลหรือไม่ ต้องคอยติดตาม

โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย



"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา
           ผู้เขียนได้อ่านงานเขียนของคุณ สิรีนาฏ ทาบึงกาฬ จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เรื่อง "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราควรจะได้รับรู้รับทราบ ความเป็นมาเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย ของเราและของลูกหลานของเรา สรุปความได้ว่า          ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย
         
เพื่อให้รู้เท่าทันแท็บเล็ต สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้จัดงานประชุมวิชาการไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTed 2012) ภายใต้หัวข้อ "ภาวะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21" ขึ้น เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ มก.บางเขน
         
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มก. กล่าวว่า แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
         
แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเร็วกว่าที่จะจดจำเอง รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ แม้ว่าหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ แต่สถานศึกษาปรับตัวช้ามาก
          "
การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็นในยุคดิจิติล การใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ"
         
รศ.ยืน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการใช้แท็บเล็ตในค่าย Cubic Creative Camp 7 ที่ได้ศึกษาและทดลองใช้เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ทักษะชีวิต การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมๆ กับเน้นให้เกิดการแสวงหาเรียนรู้ โดยใช้ความสนุกเป็นตัวนำที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็ก เพื่อสร้างความประทับใจในการเรียนรู้ ในค่ายนี้แท็บเล็ตได้รับการนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ไม่ใช่เป็นหนังสือ หรือที่เก็บสื่อ แต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็น "ตัวเชื่อมโยงกิจกรรม" ซึ่งพบว่าสามารถสร้างระดับการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ของผู้เรียนได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสนุกจะช่วยสร้างความประทับใจ ทำให้เกิดทักษะและการจดจำได้นานๆ
         
คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ
          "
การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้"
         
เหนืออื่นใด การศึกษาต้องเน้นสร้างจิตวิญญาณของการเรียนรู้ การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก เรายังมีความท้าทายรอในอนาคตอีกมาก เพราะอายุของเทคโนโลยีสมัยใหม่สั้นมาก ดังนั้นการนำมาใช้ต้องคิดให้รอบคอบ ที่สำคัญครูและผู้เรียนจะต้องสร้างสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับผู้เรียนควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยต่อไป
            หวังใจว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง ท่านผู้บริหาร คุณครู กรรมการโรงเรียน เด็กๆและผู้ที่สนใจ จะได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา ในเบื้องต้นได้พอสมควร  สรุปสั้นๆคือ"แท็บเล็ต" (Teblet)  เป็นเครื่องมือของครูในการสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เด็กๆ  แท็บเล็ต" (Teblet)  ไม่ได้มาสอนเด็กๆแทนครู  ครูยังเป็นคนสำคัญที่สุดในการออกแบบการเรียนรู้และทำการเรียนการสอน ให้แก่เด็กๆ


2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร






อาเซียน มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่  บรูไนดารุสซาลาม , ราชอาณาจักรกัมพูชา , สาธารณรัฐอินโดนีเซีย , สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว , มาเลเซีย , สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน-มาร์ , สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ,สาธารณรัฐสิงคโปร์ , ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ 
ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น ครอบครัวเดียวกันที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558
ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้
3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซีย                                                                 


3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง

"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
บุคคลนั้นต้องมีความรู้ความสามารถ ใช้ปัญญาชี้นำและเป็นต้นแบบที่ดีด้านการศึกษาแก่ผู้อื่นหรือสังคมโดยสภาพหรือลักษณะที่แสดงออกของผู้นำนั้นจะต้องแสดงออกทั้งลักษณะทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคมและมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น 


   การเป็นครูที่ดีควรมีลักษณะดังนี้จึงจะเป็นผู้นำที่ดี

                - ผู้นำต้องมีคุณความดี มีความรู้ความสามารถ เป็นแบบอย่างให้บุคคลอื่นเกิดความศรัทธา และ มีความมั่นใจในตัวผู้นำ
                 - ผู้นำทำให้ผู้ตามมั่นใจในตัวผู้ตามเอง ว่าเขามีศักยภาพที่จะทำกิจกรรมหรืองานให้สำเร็จได้
                 - ผู้นำทำให้ผู้ตามมีการประสานมือประสานใจ มีความสามัคคี มีความพร้อมเพรียงมุ่งสู่จุดมุ่งหมายอันเดียวกัน
                 - ผู้นำทำให้ผู้ตามมีความมั่นใจว่างานเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าและมีประโยชน์ จนทำให้เกิดความรักและอยากทำงาน มีความตั้งใจ   ทำงานไม่ท้อถอยหรือท้อแท้
                 - ผู้นำทำให้ผู้ตามได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ หาวิธีสนับสนุนและส่งเสริม หรือให้โอกาสเขาได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
                - ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จะต้องมองกว้าง คิดในเชิงเหตุปัจจัย เชื่อมโยงอดีต ประสานปัจจุบัน และ หยั่งเห็นอนาคต
                - ผู้นำต้องใฝ่สูง หมายถึง มีจุดมุ่งหมายที่ดีงาม สูงส่ง คือ ความดีงามของชีวิต ของสังคม และความเจริญก้าวหน้า มีสันติสุขของมวลมนุษย์ สูงสุด
                 เมื่อครูมีความพร้อมในทุกๆด้านก็จะกลายเป็นบุคคลที่น่ายกย่องนับถือและสามารถสอนผู้อื่นให้มีความรู้ความสามารถได้


 4. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
               การเรียนรู้โดยใช้บล็อกนอกจากจะเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วถ้าไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์หรือเพื่อนจนเข้าใจและทำได้  ก็ยังมีการมาค้นคว้าหาจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบบ้างในการทำบล็อกและเมื่ออาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังและทำตามทุกครั้งการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนั้นถ้าคนมีความสนใจและใส่ใจก็จะทำออกมาดี  มันสามารถต่อยอดความคิดได้ในหลายๆ ด้าน
            ต่อไปโอกาสหน้าถ้าจะเรียนโดยบล็อก  ก็เป็นเรื่องที่ดีและหน้าสนใจเพราะไม่ต้องเรียนจากตำราและใช้กระดาษแต่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนซึ่งสอดคล้องกับการจะก้าวสู่อาเซียนต่อไปข้างหน้า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
ดิฉันมีความพยายามในการทำบล็อกทุกครั้งมาก  เพราะไม่เคยเรียนมาก่อน
                4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
                ไม่ได้เข้าเรียนทุกครั้งมีขาดอยู่สองครั้ง เพราะดิฉันสุขภาพอ่อนแอ จึงหยุดพักการเรียนบ้าง
                4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
                เมื่ออาจารย์สั่งงานถ้าทำไม่เสร็จก็จะกลับมาทำที่ห้อง  แค่ส่วนมากจะทำเสร็จช้าเพราะต้องทำด้วยความละเอียด
                4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
                ทำงานทุกครั้งด้วยความคิดของตัวเอง แต่ดูของเพื่อนมาเป็นแบบอย่าง
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
                เป็นความสัตย์จริง
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร
   อยากได้เกรด  A  เพราะตั้งใจเรียน และชอบเรียนวิชานี้มาก เป็นวิชาที่ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในการเรียน   การสอน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายทาง มันทำให้เรารู้จักวิธีการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน










วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9


การจัดชั้นเรียน




         
          1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
          2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
          3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
          4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค
          5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
          6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
             6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
             6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
             6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
          7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด
         

ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี

         เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
         1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
         2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
         3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
         4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
         5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
         6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

รูปแบบการจัดชั้นเรียน

1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา
          ชั้นเรียนแบบธรรมดาเป็นชั้นเรียนที่มีครูเป็นศูนย์กลาง  เป็นผู้นำการเรียนรู้ โดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้จากครู การจัดชั้นเรียนแบบนี้จะมีโต๊ะครูอยู่หน้าชั้นเรียน และมีโต๊ะเรียนวางเรียงกันเป็นแถว โดยหันหน้าเข้าหาครูแสดงดังรูป
รูปแสดง การจัดชั้นเรียนแบบธรรมดา
          1.1 ลักษณะการจัดชั้นเรียน   การจัดชั้นเรียนแบบธรรมดานี้ โต๊ะเรียนของนักเรียน อาจเป็นโต๊ะเดี่ยวหรือโต๊ะคู่ก็ได้ ผนังห้องเรียนอาจจะมีกระดานป้ายนิเทศ หรือสื่อการสอน เช่น แผนภูมิ รูปภาพ   แผนที่ติดไว้ ซึ่งสื่อการสอนเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนบ่อยนัก การตกแต่งผนังห้องเรียนจะแตกต่างกันออกไปตามแต่สถานที่ตั้งของโรงเรียน โรงเรียนที่อยู่ในตัวเมืองอาจจะมีการตกแต่ง มากกว่าโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลออกไปตมชนบท เพราะหาสื่อการสอนได้ยากกว่า บางห้องเรียนอาจจะมีมุมความสนใจ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน
          1.2 บทบาทของครูและนักเรียน    บทบาทของครูและนักเรียนในชั้นเรียนแบบธรรมดานี้ ครูจะเป็นผู้รอบรู้ในด้านต่างๆ ใช้วิธีการสอนแบบป้อนความรู้ให้แก่นักเรียนโดยการบรรยาย   และอธิบายให้นักเรียนฝังอยู่ตลอดเวลา ครูจะเป็นผู้แสดงกิจกรรมต่างๆ เอง แม้กระทั่งการทดลองอย่างง่ายๆ ไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ยิบจับ หรือแตะต้องสื่อการสอนที่ครูนำมาแสดง นักเรียนจึงต้องฟังครู มีมีโอกาสได้พูด หรือทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อค้นหาคำตอบใดๆ สื่อการสอนที่ใช้ส่วนมาก ได้แก่ ชอล์ก กระดานดำ และแบบเรียน
การจัดชั้นเรียนแบบนี้ไม่เอื้อต่อการสอนตามหลักสูตรใหม่ นักการศึกษาจึงไม่แนะนำให้ใช้มากนัก อาจใช้ได้เป็นบางครั้งเท่านั้นถ้าจำเป็นต่อวิธีการสอนวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ไม่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างตลอดไป

2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม
          ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม เป็นชั้นเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควิธีสอนใหม่ๆ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบโฟร์แมท แบบสตอรี่ไลน์ แบบโครงงาน เป็นต้น ซึ่งนักเรียนจะมีอิสระในการเรียน อาจเรียนเป็นกลุ่ม หรือเป็นรายบุคคล โดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา การจัดชั้นเรียนจึงมีรูปแบบการจัดโต๊ะเก้าอี้ในลักษณะต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเรียงแถวหันหน้าเข้าหาครู เช่น จัดเป็นรูปตัวที ตัวยู วงกลม หรือจักเป็นกลุ่ม
          2.1 ลักษณะการจัดชั้นเรียน การจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรมนี้   โต๊ะครูไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้น อาจเคลื่อนย้ายไปตามมุมต่างๆ การจัดโต๊ะนักเรียนจะเปลี่ยนรูปแบบไปตามลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ส่วนใหญ่นิยมจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน มีการจัดศูนย์สนใจ มีสื่อการสอนในรูปของชุดการสอน หรือเครื่องช่วยสอนต่างๆ ไว้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง หรือศึกษาร่วมกับเพื่อน มีการตกแต่งผนังห้องและเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเรื่องที่นักเรียนกำลังเรียน
          2.2 บทบาทของครูและนักเรียน   การจัดชั้นเรียนแบบนี้ครูจะเป็นผู้กำกับและแนะแนวนักเรียนเป็นผู้แสดงบทบาท ครูจะพูดน้อยลง ให้นักเรียนได้คิด ได้ถาม ได้แก้ปัญหา และได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง นักเรียนอาจจะเรียนด้วยตนเองจากสื่อประสม เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ดังนั้น การจัดชั้นเรียนแบบนี้จึงเป็นการจัดชั้นเรียนที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรที่ต้องการให้ผู้เรียนได้คิดค้นคว้า วิเคราะห์วิจารณ์ และลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง
          กล่าวโดยสรุป ในการจัดชั้นเรียน ผู้สอนสามารถจัดได้ 2 แบบ ทั้งแบบธรรมดาและแบบนวัตกรรม แต่เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร การจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรมจะเป็นแบบที่เหมาะสม เพราะสะดวกแก่การที่ผู้เรียนจะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง สะดวกแก่การทำงานกลุ่มกับเพื่อน สะดวกแก่การทดลองหรือทำกิจกรรมต่างๆ ผู้สอนจึงควรจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน

กิจกรรมที่ 8



ครูในอุดมคติ




คุณครูที่ดิฉันชื่นชอบต้องมีคุณลักษณะที่ดีทั้งสามด้านดังนี้

ด้านคุณลักษณะ

1. มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และพร้อมที่จะพัฒนาวิชาชีพของตนอยู่เสมอ
2. ประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียน ทั้งด้านศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัย ตลอดจนมี     ความ   เป็นประชาธิปไตย
3. ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
4. มีความเมตตาแก่ศิษย์ และเห็นคุณค่าของศิษย์
5. มีสุขภาพสมบูรณ์
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการ และสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
7. มีบทบาทในการพัฒนาชุมชน และสามารถเป็นผู้นำชุมชนได้
8. สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภาษา และการวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง
9. สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นครูแบบใหม่ในระบบสากลได้ คือ
                       -  เป็นครูที่เน้นความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อผู้เรียนเป็นหลัก แนะนำผู้เรียนสามารถพัฒนาเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพและสร้างสรรค์ และให้ข้อมูลสะท้อนกลับผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง
                      -   รู้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพราะการศึกษายุคใหม่เป็นการศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์มากขึ้น
       -   เป็นครูที่ต้องไปหานักเรียนมากขึ้น เข้าเยี่ยมชุมชนได้มากขึ้น

ด้านความรู้ของครู

1. มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างแท้จริง สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีในศาสตร์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้ ทั้งการปฏิบัติในระดับสากลและในระดับท้องถิ่น
2. มีความรู้ด้านการวิจัย วิทยาการคอมพิวเตอร์และภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้
3. มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน จิตวิทยา การวัดและประเมินผล และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัว และเรื่องราวในท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และฝึกให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์วิจารณ์ได้
ด้านการถ่ายทอดความรู้

1. สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ เพื่อจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียน ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงความรู้นั้นสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรือใช้ในการเรียนรู้ต่อไป
2. สามารถอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัย รวมทั้งรักในความเป็นประชาธิปไตย เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข
3. สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนใฝ่รู้ และก้าวทันเทคโนโลยี ตลอดจนสามารถใช้ภาษา สื่อสารกันได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
4. สามารถ พัฒนาให้ผู้เรียนมองกว้าง คิดไกล และมีวิจารณญาณที่จะวิเคราะห์และเลือกใช้ข่าวสารข้อมูลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้
5. พัฒนาให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาชุมชน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนได้

วิธีการที่นำไปสู่การเป็นครูในอนาคต

และหากดิฉันเป็นคุณครูดิฉันก็จะปฎิบัติตัวเป็นครูที่ดีที่มีคูณลักษณะทั้งสามด้านนี้ให้จงได้ โดยการศึกษาวิชาที่เล่าเรียนมาและยึดในหลักปฎิบัติข้างต้น คือมีความศรัทธาในอาชีพการเป็นครูมีใจรักในการเป็นครู ไม่ดูถูกอาชีพของตัวเอง มีความรอบรู้ในเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพร้อมจะรับมือกับรูปแบบการสอนที่ทันสมัยขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ ในโลกไร้พรมแดนที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้    ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ รวมทั้งเป็นผู้ที่สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถตระหนักได้ว่าควรจะเลือกรับวัฒนธรรมต่างชาติที่ดี ที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของตนเองได้  เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนได้ และอบรมสั่งสอนวิชาความรู้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน พร้อมที่จะเสียสละและอุทิศตน ดูแลเอาใจใส่สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันจะเป็นหนทางในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองได้ต่อไปในอนาคต

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาค


บทความเรื่อง  ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                 จากการที่ได้อ่านบทความนี้สรุปได้ว่า การที่เราเป็นครูนั้นต้องรู้จักประมาณตนเอง พอเพียงในสิ่งที่ตนมี รู้จักใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต พระองค์ทรงสอนให้เราพอเพียง รู้จักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ รู้จักใช้หลักในการดำรงชีวิต ทรงคิดโครงการแก้มลิงในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นในการที่เราจะไปเป็นครูในภายภาคหน้าเราควรที่จะใช้ชีวิตในหลักเศรษฐกิจพอเพียง พอในสิ่งที่ตนมี ไม่ใช้จ่ายเกินตัว รู้จักเก็บออม กินอย่างมีความสุขโดยการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ปลูกผักไว้กินเอง ใช้ชีวิตให้มีความสุขกับแนวทางพระราชดำรัสของพรบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ถ้าเป็นครูจะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้ความคิด รู้จักการแก้ปัญหา สอนให้นักเรียนรู้ลึก รู้จริงในเรื่องนั้นๆ รู้จนกระจ่างแจ้ง จะสอนให้นักเรียนรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม สอนให้นักเรียนรู้จักความสามัคคี

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ออกแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการแก้ปัญหาเป็น อย่างเช่น ถ้าครูจะสอนเกี่ยวกับเรื่องวิกฤติธรรมชาติ อันดับแรก คือ ครูจะร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับนักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุและก็ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็นำปัญหาที่ได้มาการแก้ปัญหารู้ว่าปัญหาดังกล่าวสามารถนำแนวทางใดมาใช้ในการแก้ปัญหาได้บ้าง เช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักอิทธิบาท 4 หลังจากนั้นก็สรุปแบบองค์ความรู้ที่สมบูรณ์อีกหลัง เราสามารถนำความรู้จากบทความที่ได้นี้ไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอน ไว้ให้เด็กเป็นแนวคิดในหลักการดำรงชีวิต เป็นข้อคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ


บทความ  วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์   THE STEVE JOBS WAY

 1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

       การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา และ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล  
       สภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษา  พบว่า  การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  และการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้สูง  และอัตราเรียนต่อสูงขึ้นทุกปี  อัตราการออกกลางคันลดลง  ผู้ปกครองต้องการให้เด็กเรียนสูงขึ้น  แต่สถานศึกษาในชนบทส่วนใหญ่   เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก  ครูผู้สอนมีน้อย และเด็กส่วนใหญ่ไม่มีความรู้มากนัก เพราะเรียนแค่ ม.3 หรือ ม.6 เท่านั้น จึงทำให้การว่างงานนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ

2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
         ดิฉันจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ดีที่สุดและทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใดก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้นักเรียนทึกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความสามารถที่เขามีออกมา

 3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร 

        ถ้าดิฉันเป็นครูในอนาคต ดิฉันก็สามารถที่จะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับความรู้โดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากกิจกรรมที่ครูจัดให้คิดเป็นภาษาของตนเองค่ะ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียน และสุดท้ายต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อเขาจะได้เป็นบุคคลที่ทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ค่ะ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่7




ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน  
     บทเรียนเรื่อง        กะลาจมน้ำ                                                                                           
     สอนโดย               คุณครูกรรณิการ์ เฮงสกุลวงษ์   รร.มาบตาพุดพันพิทยาคาร
     ระดับชั้นที่สอน    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
จากกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดความตระหนักเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม   โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนำเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนให้ผู้เรียนมองเห็นภาพของจริงของการรั่วไหล ของน้ำมัน ในท้องทะเลทำให้เกิดกระบวนการต่อสภาพแวดล้อมต่างๆมากมาย ผู้สอนซักถาม ผู้เรียนตอบคำถาม เป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้สนใจในบทเรียน และผู้สอนจำลองสถานการณ์โดยใช้ ตู้ปลาเป็นแหล่งเรียนรู้ นำกะลา เป็นเรือ บรรทุกน้ำมัน โดยใช้ น้ำมันผสมผลโกโก้ เพื่อให้เห็นเป็นสีดำ ผู้สอนสร้างสถานการณ์ โดยทำให้เรือรั่ว น้ำมันไหลลงสู่น้ำ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มคิดแก้ไขปัญหา ทำอย่างไร จึงจะกำจัดน้ำมัน จากน้ำได้มากที่สุด โดยผู้สอนกำหนดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้ แล้ว ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดวางแผน ในการกำจัดน้ำมัน ให้สะอาดและประหยัดที่สุด เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดวางแผน ออกแบบการทดลอง สรุป เปรียบเทียบ ผู้เรียนระดมความคิด ทำให้เห็นวิธีคิดทักษะการคิดของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม ผู้เรียนลงมือทำการทดลองตามแผนเมือแต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้ว กลุ่มที่สะอาดที่สุดออกมานำเสนอวิธีการหน้าชั้นเรียนและยังเป็นการจัดกิจกรรมที่ปลูกจิตสำนึกให้ผู้เรียนในการรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า การลงมือปฏิบัติจริง

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
 คุณครูใช้ปัญหาในชุมชนเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการแก้ปัญหาน้ำมันรั่วในทะเลที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ แล้วให้ผู้เรียนสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้วออกแบบการสอน เรื่องการกำจัดคราบน้ำมัน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ และใส่ใจการใช้ทรัพยากรในในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก โดยออกแบบการทดลองจากวัสดุที่ใช้ทดลองแล้วนักเรียนเข้าใจ และเห็นภาพได้อย่างชัดเจน เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีอีกแบบหนึ่งสามารถประยุกต์ใช้สอนในเรื่องอื่นๆได้ อุปมาอุปไมยได้ดี และให้นักเรียนออกแบบแก้ปัญหาซึ่งดีมากๆซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ดีมาก ทำให้มองเห็นภาพอย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย ดูแล้วทำให้นักเรียนเกิดสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนทุกคนในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อนักเรียนเข้าใจถึงอันตรายจากสิ่งเลวร้ายเหล่านี้ พวกเขาก็สามารถนำไปบอกเล่ากับบุคคลที่อยู่รอบๆตัว ให้ช่วยกันอนุรักษ์หรือรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองได้ ทำให้ท้องถิ่นนั้นๆน่าอยู่ยิ่งขึ้น

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
บรรยากาศการจัดห้องเรียนตอนแรกคุณครูจะเป็นผู้นำเข้าสู้บทเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องกะลาจมน้ำ ครูจะเป็นผู้สาทิตกิจกรรมให้นักเรียนดูให้ผู้เรียนได้มองเห็นปัญหา คิดวิธีการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ตัวอย่างที่ ผู้สอน ได้กำหนดขึ้น สอนให้ผู้เรียนมองเห็นภาพของจริง ผู้สอนซักถาม ผู้เรียนตอบคำถาม เป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้สนใจในบทเรียน เกิดกระบวนการคิด ใช้สถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนเข้าใจ  แล้วแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มกิกรรมทำคิดแก้ไขปัญหาวิธีการกำจัดคราบน้ำมันให้ได้มากที่สุดทีเป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยังช่วยปลูกจิตสำนึกให้ผู้เรียนในการรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า การลงมือปฏิบัติจริง ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมากทุกคนได้ช่วยกันระดมความคิดระดมสมองในการช่วยกันแก้ปัญหาครามน้ำมัน ได้เห็นถึงความคิดในหลายมุมของนักเรียน ได้เห็นการทำงานร่วมกันเป็นทีม ได้เห็นทักษะกระบวนการคิดที่ดีของนักเรียนทำให้บรรยากาศในการสอนครั้งนี้ครึกครื้นมาก มีกระบวนการทำงานที่มีระบบถือว่าเป็นบรรยากาศที่ดีมากในการเรียนรู้


วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่6


         ทะเลสวยๆ ที่เกาะสมุย
















การไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่ทะเลเป็นกิจกรรมที่ดิฉันชอบมากๆ มันทำให้ฉันสดชื่นและรู้สึกผ่อนคลายจากเรื่องราวที่วุ่นวายในชีวิต มัมเป็นสถานที่แรกๆๆที่ฉันจะเลือกไปในยามว่างๆๆ

กิจกรรมที่5




นายสอแล๊ะ หมันเร๊ะ
เกิดวันที่ ๑๓ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗

...“ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” เป็นคติประจำใจที่ นายสอแล๊ะ หมันเร๊ะ ครู คศ.๒ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๐ (บ้านควนโพธิ์) จ.สตูล ยึดถือในการปฏิบัติหน้าที่การสอนคณิตศาสตร์กว่า ๑๓ ปี บ่มเพาะนักเรียนให้รักและสนุกในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เสมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้นักเรียนเข้าแข่งขันทักษะทางคณิตศาสตร์ได้รับรางวัลมากมาย สร้างชื่อให้โรงเรียนไทยร้ฐวิทยา ๔๐ เป็นที่รู้จักอย่าวกว้างขวาง

ประวัติการศึกษา
ระดับประถมศึกษา จบโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๐ (บ้านควนโพธิ์) ปี ๒๕๓๐
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จบโรงเรียนดารุลมาอาเรฟ ปี ๒๕๓๓
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จบโรงเรียนดารูลมาอาเรฟ ปี ๒๕๓๖
ระดับอุดมศึกษา จบสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช สาขาคณิตศาสตร์ ปี ๒๕๔๐
ประวัติการทำงาน
เริ่มรับราชการตำแหน่ง อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนบ้านบัวทอง สปอ.ธารโต สปจ.ยะลา วันที่ ๑๘ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
ปี ๒๕๔๓ ตำแหน่ง อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนบ้านเหนือคลอง สปอ.ควนกาหลง สปจ.สตูล
ปี ๒๕๔๕ ตำแหน่ง อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา๔๐(บ้านควนโพธิ์) สปอ.เมืองสตูล สปจ.สตูล
ปัจจุบัน ตำแหน่ง ครู อันดับ คศ.๒ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา๔๐(บ้านควนโพธิ์) สพป.สตูล

ผลงาน
๑. ครูดีในดวงใจ จาก สพท.สตูล ปี ๒๕๕๐
๒. ครูดีศรีไทยรัฐ จาก มูลนิธิไทยรัฐ ปี ๒๕๔๒
๓. ชนะเลิศการผลิตสื่อ E-book จาก กลุ่มฮาราปันบารู ปี ๒๕๕๒
๔. ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ป.๔-๖ ระดับภาคใต้ ปี ๒๕๕๓
๕. ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ป.๔-๖ ปี ๒๕๕๓ ระดับชาติ ปี ๒๕๕๓
๖. ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ป.๑-๓ ระดับภาคใต้ ปี ๒๕๕๔
๗. ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ป.๔-๖ ระดับภาคใต้ ปี ๒๕๕๔
๘. ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ม.๑-๓ ระดับภาคใต้ ปี ๒๕๕๔
๙. ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ ๒ กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ป.๑-๓ ระดับชาติ ปี ๒๕๕๔
๑๐. ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ ๒ กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ป.๔-๖ ระดับชาติ ปี ๒๕๕๔
๑๑. ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ ๑ กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ม.๑-๓ ระดับชาติ ปี ๒๕๕๔

สิ่งที่ดีของครูที่นำมาประยุกต์ใช้                                                                           
เทคนิคการออกแบบการสอนที่มีความสำคัญมาก ต้องวางแผนและออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาและระดับการเรียนรู้ คำนึงถึงระดับความพร้อมของนักเรียนและเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างสนุกสนาน
การนำเข้าสู่บทเรียน ต้องสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่สนุกสนาน โดยการใช้เกม นิทาน การแข่งขันทางคณิตศาสตร์ การวาดภาพ และกิจกรรมอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหา
การออกแบบเรื่องราวให้ดูสนุกสนาน มีความบันเทิงอยู่เสมอแม้ว่าเป็นเรื่องเครียดๆๆฉันเอาเรื่องนี้มาประยุกต์ใช้กับการใช้ชีวิตประจำวันในการทำงาน การเรียนในรายวิชาต่างๆๆๆ