1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า
ใช้ Keywordว่า
"แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง
วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
ปัจจุบันแท็บเล็ตได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องของการศึกษามากขึ้น
เราจะเห็นได้ว่าในบางประเทศนั่นเริ่มให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีประเภทแท็บเล็ต
เข้ามาช่วยเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียน
และล่าสุดยักษ์ใหญ่แห่งวงการคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีในนาม อินเทล (Intel) ได้เปิดตัวต้นแบบแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาในชื่อ Studybook ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์เพื่อการศึกษาในโครงการของอินเทลที่มีชื่อว่า Intel
Learning Series เป็นโครงการที่รวมเอาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
และบริการต่าง ๆ มารวมกันเพื่อจุดประสงค์ทางด้านการศึกษาเป็นหลัก
และมุ่งเน้นด้านการพัฒนาและเพิ่มประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีให้แก่นักเรียน
สำหรับ Studybook ตัวเครื่องทำด้วยพลาสติกและยาง ทำให้ทนทานต่อการตกจากที่สูงไม่เกิน 1 เมตร มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว ความละเอียด 1024x600 พิกเซล มาพร้อมกับซีพียู Atom Z650 แรม 1 GB และมีความจุตั้งแต่ 32 GB - 128 GB สามารถใส่ซิมการ์ดได้ พร้อมด้วยกล้องถ่ายภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีพอร์ตต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น พอร์ต HDMI, USB 2.0 และตัวเครื่อง Studybook มีน้ำหนักเพียง 525 กรัม ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบปฏิบัติ Windows 7 หรือระบบปฏิบัติการ Android 3.0 และสามารถดาวน์โหลดแอพฯ ฟรีเพื่อใช้ในการศึกษา เช่น Kno e-reader หรือ LabCam สำหรับใช้ในการการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยสามารถต่อเชื่อมกับกล้องความละเอียด 2 ล้านพิกเซลที่ติดอยู่ด้านหลังแท็บเล็ตเพื่อใช้แทนกล้องจุลทรรศน์ได้ ชมภาพตัวอย่างด้านล่าง
สำหรับ Studybook ตัวเครื่องทำด้วยพลาสติกและยาง ทำให้ทนทานต่อการตกจากที่สูงไม่เกิน 1 เมตร มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว ความละเอียด 1024x600 พิกเซล มาพร้อมกับซีพียู Atom Z650 แรม 1 GB และมีความจุตั้งแต่ 32 GB - 128 GB สามารถใส่ซิมการ์ดได้ พร้อมด้วยกล้องถ่ายภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีพอร์ตต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น พอร์ต HDMI, USB 2.0 และตัวเครื่อง Studybook มีน้ำหนักเพียง 525 กรัม ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบปฏิบัติ Windows 7 หรือระบบปฏิบัติการ Android 3.0 และสามารถดาวน์โหลดแอพฯ ฟรีเพื่อใช้ในการศึกษา เช่น Kno e-reader หรือ LabCam สำหรับใช้ในการการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยสามารถต่อเชื่อมกับกล้องความละเอียด 2 ล้านพิกเซลที่ติดอยู่ด้านหลังแท็บเล็ตเพื่อใช้แทนกล้องจุลทรรศน์ได้ ชมภาพตัวอย่างด้านล่าง
สำหรับเรื่องราคา
ทางอินเทลยังไม่ได้กำหนดชัดเจน แต่คาดว่าทางผู้ผลิตที่ออกแบบแท็บเล็ตตัวนี้
จะคุมราคาขายด้วยราคาไม่เกิน $200 หรือประมาณ 6,000 บาท หรืออาจจะถูกกว่า อย่างไรก็ตาม
นี่เป็นเพียงต้นแบบเท่านั้นแต่เชื่อว่าอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นแท็บเล็ต Studybook
ตัวนี้ เริ่มใช้งานในหลาย ๆ ประเทศและต้องรอลุ้นว่าประเทศไทยของเรา
จะมีใครสนใจเข้าร่วมโครงการนี้กับอินเทลหรือไม่ ต้องคอยติดตาม
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา
ผู้เขียนได้อ่านงานเขียนของคุณ
สิรีนาฏ ทาบึงกาฬ จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เรื่อง "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราควรจะได้รับรู้รับทราบ
ความเป็นมาเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย ของเราและของลูกหลานของเรา สรุปความได้ว่า
ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet)
กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น
ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ
"แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"
มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา
ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ
ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย
เพื่อให้รู้เท่าทันแท็บเล็ต สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้จัดงานประชุมวิชาการไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTed 2012) ภายใต้หัวข้อ "ภาวะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21" ขึ้น เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ มก.บางเขน
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มก. กล่าวว่า แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเร็วกว่าที่จะจดจำเอง รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ แม้ว่าหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ แต่สถานศึกษาปรับตัวช้ามาก
"การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็นในยุคดิจิติล การใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ"
รศ.ยืน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการใช้แท็บเล็ตในค่าย Cubic Creative Camp 7 ที่ได้ศึกษาและทดลองใช้เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ทักษะชีวิต การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมๆ กับเน้นให้เกิดการแสวงหาเรียนรู้ โดยใช้ความสนุกเป็นตัวนำที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็ก เพื่อสร้างความประทับใจในการเรียนรู้ ในค่ายนี้แท็บเล็ตได้รับการนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ไม่ใช่เป็นหนังสือ หรือที่เก็บสื่อ แต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็น "ตัวเชื่อมโยงกิจกรรม" ซึ่งพบว่าสามารถสร้างระดับการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ของผู้เรียนได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสนุกจะช่วยสร้างความประทับใจ ทำให้เกิดทักษะและการจดจำได้นานๆ
คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ
"การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้"
เหนืออื่นใด การศึกษาต้องเน้นสร้างจิตวิญญาณของการเรียนรู้ การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก เรายังมีความท้าทายรอในอนาคตอีกมาก เพราะอายุของเทคโนโลยีสมัยใหม่สั้นมาก ดังนั้นการนำมาใช้ต้องคิดให้รอบคอบ ที่สำคัญครูและผู้เรียนจะต้องสร้างสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับผู้เรียนควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยต่อไป
เพื่อให้รู้เท่าทันแท็บเล็ต สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้จัดงานประชุมวิชาการไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTed 2012) ภายใต้หัวข้อ "ภาวะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21" ขึ้น เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ มก.บางเขน
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มก. กล่าวว่า แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเร็วกว่าที่จะจดจำเอง รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ แม้ว่าหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ แต่สถานศึกษาปรับตัวช้ามาก
"การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็นในยุคดิจิติล การใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ"
รศ.ยืน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการใช้แท็บเล็ตในค่าย Cubic Creative Camp 7 ที่ได้ศึกษาและทดลองใช้เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ทักษะชีวิต การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมๆ กับเน้นให้เกิดการแสวงหาเรียนรู้ โดยใช้ความสนุกเป็นตัวนำที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็ก เพื่อสร้างความประทับใจในการเรียนรู้ ในค่ายนี้แท็บเล็ตได้รับการนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ไม่ใช่เป็นหนังสือ หรือที่เก็บสื่อ แต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็น "ตัวเชื่อมโยงกิจกรรม" ซึ่งพบว่าสามารถสร้างระดับการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ของผู้เรียนได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสนุกจะช่วยสร้างความประทับใจ ทำให้เกิดทักษะและการจดจำได้นานๆ
คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ
"การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้"
เหนืออื่นใด การศึกษาต้องเน้นสร้างจิตวิญญาณของการเรียนรู้ การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก เรายังมีความท้าทายรอในอนาคตอีกมาก เพราะอายุของเทคโนโลยีสมัยใหม่สั้นมาก ดังนั้นการนำมาใช้ต้องคิดให้รอบคอบ ที่สำคัญครูและผู้เรียนจะต้องสร้างสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับผู้เรียนควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยต่อไป
หวังใจว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง
ท่านผู้บริหาร คุณครู กรรมการโรงเรียน เด็กๆและผู้ที่สนใจ จะได้รับความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับ "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา ในเบื้องต้นได้พอสมควร สรุปสั้นๆคือ"แท็บเล็ต" (Teblet) เป็นเครื่องมือของครูในการสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เด็กๆ แท็บเล็ต" (Teblet)
ไม่ได้มาสอนเด็กๆแทนครู ครูยังเป็นคนสำคัญที่สุดในการออกแบบการเรียนรู้และทำการเรียนการสอน
ให้แก่เด็กๆ
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย
3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย
ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา
เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
อาเซียน
มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม , ราชอาณาจักรกัมพูชา , สาธารณรัฐอินโดนีเซีย , สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว , มาเลเซีย , สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน-มาร์ , สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ,สาธารณรัฐสิงคโปร์ , ราชอาณาจักรไทย
และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ
“ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน
เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน
รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ
ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน”
ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี
โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย
และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม
2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน
ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน
ภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี
2558
ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ได้แก่
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้
3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้
3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น
ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน
มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง
จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน
โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง
เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน
และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา
เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม
เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา
ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน
ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน
ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซีย
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ
ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ
แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู
นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง
จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
บุคคลนั้นต้องมีความรู้ความสามารถ
ใช้ปัญญาชี้นำและเป็นต้นแบบที่ดีด้านการศึกษาแก่ผู้อื่นหรือสังคมโดยสภาพหรือลักษณะที่แสดงออกของผู้นำนั้นจะต้องแสดงออกทั้งลักษณะทางกาย
ทางอารมณ์ ทางสังคมและมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น
- ผู้นำต้องมีคุณความดี มีความรู้ความสามารถ
เป็นแบบอย่างให้บุคคลอื่นเกิดความศรัทธา และ มีความมั่นใจในตัวผู้นำ
- ผู้นำทำให้ผู้ตามมั่นใจในตัวผู้ตามเอง
ว่าเขามีศักยภาพที่จะทำกิจกรรมหรืองานให้สำเร็จได้
- ผู้นำทำให้ผู้ตามมีการประสานมือประสานใจ มีความสามัคคี
มีความพร้อมเพรียงมุ่งสู่จุดมุ่งหมายอันเดียวกัน
- ผู้นำทำให้ผู้ตามมีความมั่นใจว่างานเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าและมีประโยชน์
จนทำให้เกิดความรักและอยากทำงาน มีความตั้งใจ ทำงานไม่ท้อถอยหรือท้อแท้
- ผู้นำทำให้ผู้ตามได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ หาวิธีสนับสนุนและส่งเสริม
หรือให้โอกาสเขาได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
- ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จะต้องมองกว้าง คิดในเชิงเหตุปัจจัย เชื่อมโยงอดีต
ประสานปัจจุบัน และ หยั่งเห็นอนาคต
- ผู้นำต้องใฝ่สูง หมายถึง มีจุดมุ่งหมายที่ดีงาม สูงส่ง คือ
ความดีงามของชีวิต ของสังคม และความเจริญก้าวหน้า มีสันติสุขของมวลมนุษย์ สูงสุด
เมื่อครูมีความพร้อมในทุกๆด้านก็จะกลายเป็นบุคคลที่น่ายกย่องนับถือและสามารถสอนผู้อื่นให้มีความรู้ความสามารถได้
การเรียนรู้โดยใช้บล็อกนอกจากจะเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วถ้าไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์หรือเพื่อนจนเข้าใจและทำได้
ก็ยังมีการมาค้นคว้าหาจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบบ้างในการทำบล็อกและเมื่ออาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังและทำตามทุกครั้งการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนั้นถ้าคนมีความสนใจและใส่ใจก็จะทำออกมาดี มันสามารถต่อยอดความคิดได้ในหลายๆ
ด้าน
ต่อไปโอกาสหน้าถ้าจะเรียนโดยบล็อก ก็เป็นเรื่องที่ดีและหน้าสนใจเพราะไม่ต้องเรียนจากตำราและใช้กระดาษแต่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนซึ่งสอดคล้องกับการจะก้าวสู่อาเซียนต่อไปข้างหน้า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
ดิฉันมีความพยายามในการทำบล็อกทุกครั้งมาก
เพราะไม่เคยเรียนมาก่อน
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
ไม่ได้เข้าเรียนทุกครั้งมีขาดอยู่สองครั้ง เพราะดิฉันสุขภาพอ่อนแอ จึงหยุดพักการเรียนบ้าง
4.3
ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
เมื่ออาจารย์สั่งงานถ้าทำไม่เสร็จก็จะกลับมาทำที่ห้อง แค่ส่วนมากจะทำเสร็จช้าเพราะต้องทำด้วยความละเอียด
4.4
ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
ทำงานทุกครั้งด้วยความคิดของตัวเอง แต่ดูของเพื่อนมาเป็นแบบอย่าง
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
เป็นความสัตย์จริง
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง
และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร
อยากได้เกรด A เพราะตั้งใจเรียน และชอบเรียนวิชานี้มาก
เป็นวิชาที่ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในการเรียน
การสอน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายทาง มันทำให้เรารู้จักวิธีการเรียนรู้ใหม่ๆ
ที่ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น