วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่7




ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน  
     บทเรียนเรื่อง        กะลาจมน้ำ                                                                                           
     สอนโดย               คุณครูกรรณิการ์ เฮงสกุลวงษ์   รร.มาบตาพุดพันพิทยาคาร
     ระดับชั้นที่สอน    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
จากกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดความตระหนักเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม   โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนำเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนให้ผู้เรียนมองเห็นภาพของจริงของการรั่วไหล ของน้ำมัน ในท้องทะเลทำให้เกิดกระบวนการต่อสภาพแวดล้อมต่างๆมากมาย ผู้สอนซักถาม ผู้เรียนตอบคำถาม เป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้สนใจในบทเรียน และผู้สอนจำลองสถานการณ์โดยใช้ ตู้ปลาเป็นแหล่งเรียนรู้ นำกะลา เป็นเรือ บรรทุกน้ำมัน โดยใช้ น้ำมันผสมผลโกโก้ เพื่อให้เห็นเป็นสีดำ ผู้สอนสร้างสถานการณ์ โดยทำให้เรือรั่ว น้ำมันไหลลงสู่น้ำ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มคิดแก้ไขปัญหา ทำอย่างไร จึงจะกำจัดน้ำมัน จากน้ำได้มากที่สุด โดยผู้สอนกำหนดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้ แล้ว ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดวางแผน ในการกำจัดน้ำมัน ให้สะอาดและประหยัดที่สุด เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดวางแผน ออกแบบการทดลอง สรุป เปรียบเทียบ ผู้เรียนระดมความคิด ทำให้เห็นวิธีคิดทักษะการคิดของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม ผู้เรียนลงมือทำการทดลองตามแผนเมือแต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้ว กลุ่มที่สะอาดที่สุดออกมานำเสนอวิธีการหน้าชั้นเรียนและยังเป็นการจัดกิจกรรมที่ปลูกจิตสำนึกให้ผู้เรียนในการรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า การลงมือปฏิบัติจริง

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
 คุณครูใช้ปัญหาในชุมชนเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการแก้ปัญหาน้ำมันรั่วในทะเลที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ แล้วให้ผู้เรียนสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้วออกแบบการสอน เรื่องการกำจัดคราบน้ำมัน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ และใส่ใจการใช้ทรัพยากรในในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก โดยออกแบบการทดลองจากวัสดุที่ใช้ทดลองแล้วนักเรียนเข้าใจ และเห็นภาพได้อย่างชัดเจน เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีอีกแบบหนึ่งสามารถประยุกต์ใช้สอนในเรื่องอื่นๆได้ อุปมาอุปไมยได้ดี และให้นักเรียนออกแบบแก้ปัญหาซึ่งดีมากๆซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ดีมาก ทำให้มองเห็นภาพอย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย ดูแล้วทำให้นักเรียนเกิดสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนทุกคนในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อนักเรียนเข้าใจถึงอันตรายจากสิ่งเลวร้ายเหล่านี้ พวกเขาก็สามารถนำไปบอกเล่ากับบุคคลที่อยู่รอบๆตัว ให้ช่วยกันอนุรักษ์หรือรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองได้ ทำให้ท้องถิ่นนั้นๆน่าอยู่ยิ่งขึ้น

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
บรรยากาศการจัดห้องเรียนตอนแรกคุณครูจะเป็นผู้นำเข้าสู้บทเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องกะลาจมน้ำ ครูจะเป็นผู้สาทิตกิจกรรมให้นักเรียนดูให้ผู้เรียนได้มองเห็นปัญหา คิดวิธีการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ตัวอย่างที่ ผู้สอน ได้กำหนดขึ้น สอนให้ผู้เรียนมองเห็นภาพของจริง ผู้สอนซักถาม ผู้เรียนตอบคำถาม เป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้สนใจในบทเรียน เกิดกระบวนการคิด ใช้สถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนเข้าใจ  แล้วแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มกิกรรมทำคิดแก้ไขปัญหาวิธีการกำจัดคราบน้ำมันให้ได้มากที่สุดทีเป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยังช่วยปลูกจิตสำนึกให้ผู้เรียนในการรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า การลงมือปฏิบัติจริง ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมากทุกคนได้ช่วยกันระดมความคิดระดมสมองในการช่วยกันแก้ปัญหาครามน้ำมัน ได้เห็นถึงความคิดในหลายมุมของนักเรียน ได้เห็นการทำงานร่วมกันเป็นทีม ได้เห็นทักษะกระบวนการคิดที่ดีของนักเรียนทำให้บรรยากาศในการสอนครั้งนี้ครึกครื้นมาก มีกระบวนการทำงานที่มีระบบถือว่าเป็นบรรยากาศที่ดีมากในการเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น